ถ้าค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวันจริงๆ จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง

ถึงวันนี้ผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการก็น่าจะออกมาแล้วนะครับ นโยบายหนึ่งในหลายๆ ข้อของพรรคเพื่อไทยที่ได้ป่าวประกาศว่า จะปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้เป็น 300 บาทต่อวัน และ เงินเดือนสำหรับพนักงานที่จบปริญญาตรีจะต้องไม่ต่ำกว่า 15,000 บาท นั้น ถ้าสิ่งเหล่านี้กำลังจะเป็นจริงขึ้นมาในอนาคตอันใกล้นี้ จะเกิดอะไรขึ้นกับการบริหารค่าจ้างเงินเดือนของแต่ละบริษัทบ้าง ลองมาดูกันครับ

วันนี้ขอแตะที่ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันก่อนนะครับ ถ้าค่าจ้างขั้นต่ำเป็นอัตรานี้จริงๆ ผลกระทบต่อระบบบริหารค่าจ้างเงินเดือนของบริษัทก็น่าจะมีดังต่อไปนี้

  • ต้นทุนการจ้างแรงงานของบริษัทสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย เพราะเมื่อไหร่กฎหมายบังคับ ก็แปลว่าบริษัทจะต้องจ่ายที่ขั้นต่ำ 300 บาท นี่ยังไม่ทราบเลยนะครับว่า 300 บาทเป็นขั้นต่ำจริงๆ ส่วนอัตราสำหรับกรุงเทพฯ และปริมณฑลจะมากกว่านี้หรือเปล่า ผลที่ตามมาก็คือ ถ้านายจ้างไม่มีความสามารถที่จะรับต้นทุนที่สูงขึ้นได้ ก็จะเกิดการลดอัตราการจ้างงานลง อัตราการว่างงานของกลุ่มแรงงานที่ไม่มีฝีมือ ก็จะมีมากขึ้นอย่างแน่นอน เพราะบริษัทจะต้องหันไปใช้แรงงานจากต่างด้าว ซึ่งสามารถจ่ายอัตราค่าจ้างที่ต่ำกว่าที่กำหนดได้ ก็จะยิ่งทำให้แรงงานไทยตกงานมากขึ้นไปอีก
  • ถ้าเป็น 300 บาทต่อวัน คูณ 30 วันก็จะเป็น 9,000 บาทต่อเดือน ซึ่งก็หมายความว่า จะมีผลกระทบต่ออัตราแรกจ้างตามวุฒิการศึกษาในระดับ ปวช ปวส และปริญญาตรี ซึ่งในหลายๆ บริษัทที่เริ่มจ้างกันในระดับปวช.ที่เฉลี่ย 6,500 ปวส. ที่เฉลี่ย 7,500 และ ปริญญาตรีที่เฉลี่ย 10,000 บาท (ข้อมูลจาก PMAT ปี 2553) แปลว่า บริษัทจะต้องปรับอัตราแรกจ้างใหม่หมด โดยอย่างน้อยๆ ก็ต้องเริ่มกันที่ 9,000 บาทต่อเดือนแน่นอนครับ
  • แล้วถ้ามีการปรับพนักงานในกลุ่มข้างต้น แน่นอนว่า จะต้องส่งผลกระทบต่อพนักงานที่อยู่ใกล้เคียงกับตำแหน่งดังกล่าว ก็ต้องมีการปรับขยับกันตามๆ กันมา เพราะถ้าไม่มีการปรับผลกระทบดังกล่าวก็จะทำให้เงินเดือนพนักงานของแต่ละกลุ่มขยับเข้ามาใกล้กันมาก ซึ่งอาจทำให้ความรู้สึกของพนักงานกลุ่มดังกล่าวไม่ค่อยดีนัก เพราะเดิมเคยได้รับเงินเดือนที่ต่างกันอยู่ แต่วันดีคืนดี รัฐบาลบอกปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เลยทำให้เงินเดือนของพนักงานที่เคยได้รับน้อยกว่านั้น ขยับเข้ามาใกล้ หรือ เท่ากัน หรืออาจจะมากกว่าด้วยซ้ำไป สรุปก็คือ บริษัทจะต้องจัดเตรียมงบประมาณในส่วนนี้ไว้ด้วยครับ
  • การแข่งขันของภาคธุรกิจอาจจะแข่งลำบากมากขึ้น โดยเฉพาะอีก 5 ปีเราจะเข้าสู่การเปิดเสรีอาเซียน ซึ่งเรียกได้ว่า เป็นการค้าเสรีในภูมิภาคนี้ ซึ่งถ้าเรามีต้นทุนที่สูง แต่คุณภาพยังไม่ดีพอ เราก็จะสู้ต่างประเทศไม่ได้จริงๆ ดังนั้นฝ่าย HR ควรจะวางแผนในการพัฒนาคนในช่วงนี้ให้ดี เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การแข่งขันที่กำลังจะเข้ามาด้วย ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของเราสูงขึ้น แต่คุณภาพของแรงงานยังไม่ดีพอ เราก็จะเสียเปรียบต่างประเทศได้ครับ
  • ข้อดีของการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทก็คือ พนักงานจะมีรายได้มากขึ้น ซึ่งก็จะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของพนักงานดีขึ้นด้วย แต่ก็ต้องไม่ลืมว่าเมื่อไรที่มีการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เมื่อนั้นราคาสินค้าในตลาดก็จะสูงขึ้นไปด้วย ผลสุดท้ายก็คือ ปรับแล้วก็เหมือนไม่ได้ปรับครับ เพราะต้องซื้อสินค้าในราคาที่แพงขึ้นอยู่ดี

ที่สรุปมาในข้างต้นนั้นเป็นเพียงความคิดเห็นส่วนหนึ่งของผม และของเหล่า HR ที่ผมได้พูดคุยด้วยนะครับ ถ้าท่านมีความเห็นอื่นๆ เพิ่มเติมก็แลกเปลี่ยนกันได้นะครับ

32 thoughts on “ถ้าค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวันจริงๆ จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง

Add yours

  1. คงต้องรอดูบริษัทในเครือชินวัตร รวมทั้งพวกกลุ่มธุรกิจนายทุนของพรรคเพื่อไทยว่าจะเริ่มปรับค่าแรงเมื่อไร หวังว่าจะรีบทำทันทีที่ได้เข้ามาบริหารประเทศนะ พูดแล้วต้องทำ

  2. เห็นด้วยอย่างมากครับ…อาจารย์ฯ
    แล้วคนไทยเราๆจะทำอย่างไรกัน คิดคำนึงถึง “วัฏจักร 2 สูง” นี้บ้างหรือเปล่า? อาจจะหนักกว่าค่าจ้างแรงงานที่พอรับได้…พอไปได้ทั้งลูกจ้าง – นายจ้าง ซึ่งคนไทยจำนวนมากๆมีงานทำ อยู่แบบพอมีพอกินและเหลือเก็บบ้าง ถ้าจ้าง 300 บาท/วัน คนไทยมีงานทำน้อยลง เพราะจะไปจ้างแรงงานต่างชาติแทน คนที่มีงานทำมีรายได้มากขึ้น ฉุดให้ราคาสินค้าอุปโภค-บริโภคสูงขึ้น ในภาพรวมชีวิตคนไทยน่าจะแย่ลงครับ

    อยากให้อาจารย์ฯ และเพื่อนๆในแวดวง HR ช่วยนำเสอนวิธีหรือคำแนะนำ ให้คนไทยที่ไม่มีงานทำ ได้เตรียมการปรับปรุง วางแนวทางชีวิตให้ลำบากน้อยลงครับ

    ด้วยความเคารพและนับถือ
    กำพลสิริ

  3. เห็นด้วยกับอาจารย์ค่ะ เมื่อไหร่ที่กฏหมายบังคับใช้ออกมา คนจะตกงานกันเพียบ ถ้าจ้างแรงงาน 9 พัน บาท ปริญญาตรี 15000 ผลกระทบตามมาเพียบ

    1.นายจ้างจะเริ่มมองหาแรงงานต่างด้าว ที่มีฝีมือเยอะขึ้น เพราะค่าแรงแพง ต่างด้าวก็จะหันมาหางานทำที่ประเทศไทย ไม่ใช่เฉพาะต่างด้าวที่ใช้เฉพาะแรงงานเท่านั้น อย่าลืมว่า ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม ส่งลูกหลานมาเรียนหนังสือ ต่อปริญญาตรี เยอะแยะในเมืองไทย

    2.ค่าใช้จ่าย ต้นทุนเรื่องแรงงานเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว จากเดิมค่าแรงขั้นต่ำ ร้อยกว่าบาท เพิ่มเป็น สามร้อยบาท

    3.ผู้ประกอบการหันไปมองหาแหล่งลงทุนอื่น หรือย้ายฐานการผลิต เช่น พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม เพราะต้นทุนของแรงงานถูกกว่า

    4.ใช้เครื่ืองจักรในการผลิตมากขึ้น ลดแรงงานคนให้น้อยลง

    5.ผลกระทบที่คิดว่าจะร้ายแรงสุด ๆ คือ บริษัทในไทยเรา จะขายสินค้าไม่ได้น่ะสิค่ะ เพราะต้นทุนการผลิตสูง จะไปสู้กับจีน หรือเวียดนาม หรือประเทศอื่น ๆ ได้ยังไง
    พอขายสินค้าไม่ได้ บริษัท ก็ต้องหาช่องทางลดต้นทุนการผลิต จะผลิตสินค้าตกเกรดมานิดนึง ก็คงไม่ไหว ไม่ได้มาตรฐานอีก โดนลูกค้าต่อว่ามาอีก , แผนลดคนอีก ไม่อยากจะคิดเลยว่า โอกาสถูกเลิกจ้าง โดยบริษัทปิดกิจการจะเป็นยังไง

    ุ6.สินค้าแพงขึ้นมาแน่ ๆ อย่าได้กลัวว่าจะไม่ขึ้น (รายได้เพิ่ม + สินค้าขึ้นราคา = สมเหตุ สมผล ) สมมุติฐานนี้คงใช้ไม่ได้ เพราะอย่าลืมว่า ถึงแม้ว่าคุณจะมีรายได้เพิ่มขึ้น แต่สินค้าก็แพงขึ้นเป็นเงาตามตัว แล้วคนที่ตกงานอยู่ที่บ้าน คุณต้องเลี้ยงดูเขาอีกกี่ชีวิต แล้วคิดว่าเงินที่เพิ่มขึ้นจะเพียงพอเหรอ

    เอิ๊ก ๆๆๆๆๆ พูดแล้วปวดหัว

  4. ขึ้นช้าหรือเร็วก็เหมือนกัน ต่อให้อีก 5 ปีข้างหน้าเงินขึ้นเป็น 300 แต่ที่แน่ๆของแพงกว่าขึ้นตอนนี้แน่ ทำไมต้องไปสนใจนักลงทุน เขามีทางออกของเขาอยู่แล้ว ถ้าเข้ามาทำหน้าที่รัฐบาลแล้วต้องเห็นความสำคัญของประชาชน จะอุ้มนักลงทุนหรือประชาชนผมถามคนไทยหน่อย

    1. น่าสนใจครับ เพียงแต่เราจะอุ้มคนไทยในระยะสั้นๆ หรือจะอุ้มกันยาวๆ อันนี้น่าจะเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงด้วยนะครับ สิ่งที่ผมเขียนนั้นไม่ได้บอกว่าจะต้องเป็นแบบนั้น หรือแบบนี้ เพียงแต่ต้องการจะบอกว่า อย่าลืมเตรียมตัวเองไว้หน่อย เพราะอาจจะเกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้นในอนาคต ถ้าเราเตรียมตัวดี ปัญหาก็จะเกิดน้อย โดยเฉพาะปัญหาเรื่องของการบริหารค่าจ้างเงินเดือนครับ

  5. เห็นด้วยค่ะ

    หากมีการปรับจริง สินค้าอุปโภค บริโภคคงพากันขยับขึ้นราคาอีกมากค่ะ รอให้เป็นไปตามกลไกโครงสร้างเงินเดือนจะดีที่สุดค่ะ

  6. ถ้าไปตามกลไกตลาดได้ก็ดีซิครับ แต่ทุกวันนี้ต้องเข้าใจยังมีธุรกิจอีกมากที่มีการแข่งขันสูงมาก เช่นอุตสาหกรรมสิ่งทอที่ต้องแข่งกับต่างประเทศ แถมยังต้องแข่งกันเองในประเทศอีก แล้วธุรกิจ sme ที่มีคนงานไม่เกิน 50 คน ซึ่งกำไรค่อนข้างน้อย อยู่แล้ว จะอยู่รอดได้อย่างไรครับ ผมว่าถ้าค่อยเป็นค่อยไปในการปรับเงินเดือน ให้สมดุลกับการแข่งขันยังดีซะกว่า ถ้าเป็นแบบนี้ ตลาด panic แน่นอน แล้วนโยบายที่จะช่วยธุรกิจโดยการปรับขั้นของภาษี ผมถามว่าทุกวันนี้มีธุรกิจไหนบ้างครับที่จะภาษีเข้ารัฐบาลแบบถูกต้องร้อยเปอร์เซนต์ ไม่มีใครยืนจริงหรอกครับ แต่ค่าจ้างต้องจ่ายลูกจ้างจริงนะครับหลบไม่ได้ ผมคิดว่าคง

  7. ผู้ที่คิด 1 ขั้น = โห .. ค่าแรงขั้นต่ำ 300 เงินเดือน 15000 ว้าว เยอะจริงๆ สบายเลย…

    ผู้ที่คิด 2 ขั้น = เฮ้ย ค่าแรงสูงขนาดนี้ เดี๋ยวของก็ต้องแพงขึ้นแหง๋..ๆ ข้าวจานละ 60 นะ

    ผู้ที่คิด 3 ขั้น = ของแพงอะไรกัน เค้ามีนโยบายรองรับ ลดภาษีนิติบุคคลเหลือ 23เปอเซนต์ ทำให้พวกบริษัทมีเงินส่วนนี้มาจ่าย ค่าแรงที่เพิ่มขึ้น

    ผู้ที่คิด 4 ขั้น = พอค่าแรงเยอะอย่างนี้ คนเริ่มมีกำลังใช้จ่าย เศรษฐกิจขยายตัว เพราะเป็นไปตามกลไก ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ

    จะคิดแบบผู้บริหาร หรือ ผู้ต่อต้านสังคม เลือกเอาครับ

    1. เป็นความเห็นที่ดีมากครับ ผมชอบจัง แต่สิ่งหนึ่งที่เราชาว HR จะต้องรีบเตรียมการไว้ก็คือ ถ้าเกิดขึ้นจริงๆ แล้ว ก็คงจะมีผลกระทบต่อระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือนขององค์กรแน่นอน เราควรจะต้องหาวิธีการที่ไม่ทำให้พนักงานของเรารู้สึกหมดแรง หรือหมดกำลังใจในการทำงาน เพราะมีเด็กจบใหม่กำลังไล่เงินเดือนตามมาติดๆ

      บริษัทก็ต้องมีมาตรการในการปรับผลกระทบเหล่านี้ด้วยครับ เพื่อให้ขวัญกำลังใจของพนักงานยังคงอยู่ หรือลดลงให้น้อยที่สุด เพราะมันมีผลต่อผลงานของบริษัทครับ

      ผมไม่ได้ต่อต้าน หรือยอมรับโดยดุษฎี แต่ผมพยายามที่จะจุดประกายชาว HR ให้เตรียมพร้อมไว้ เพราะงานเข้าแน่นอนครับ

    2. 1 ค่าแรงขั้นต่ำ มองในมุมของแรงงาน ดีจังตังเยอะขึ้น แต่นายจ้างก็จะคัดคนละครับ
      คนที่ได้ 300 จริง ก็ต้องทำงานดี ขยัน แล้วนิสัยคนไทย มีกี่คนครับ กี่ % ส่วนคนทีจะตกงานจะอีกกี่% คิดเข้าข้างคนไทยเล่น ๆ 30% เป็นแรงงานไร้คุณภาพ คุณลองคำนวณดูเล่นๆ ว่าจะตกงานซักกี่คนเอ่ย อย่าลืมเตรียมเงินไว้สำหรับปัญหาสังคมด้วยหละ

      2 ของมันแพงแน่ๆ ต้นทุนสูงไม่มีใครเขาขายขาดทุนหรอก

      3 นโยบายที่ทำแบบขอไปทีอ่ะนะครับ ลองไปดูก็แล้วกันครับ หลายนโยบายคุยกันแล้วคุยกันอีกไม่จบ เพราะไม่อยู่บนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง ลองไปคิดดูละกันครับว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็นไง

      4 มีกำลังจ่ายนี่คุณอิงกับภาวะราคาสินค้าขณะนี้หรือป่าว ถ้าได้ 300 แต่ก๋วยเตียว 60-70 กินไหวป่าว

      จะคิดสั้นคิดยาว ถ้าไม่อิงเศรษฐกิจพอเพียงก็จะเป็นแบบพวกที่กำลังจะเศรษฐกิจพัง
      พวก PIGS ไง

      แต่ดีนะ จะได้เป็นบทเรียนให้กับพวกที่คิดว่า มีเงินเยอะ ชีวิตจะมีความสุข

      ในหลวงของเราท่านพากเพียร จนนำแนวคิดนี้มา แต่คนไทยซักกี่คนจะรู้จักนำมาใช้

  8. แต่อย่างไรก็แล้วแต่ก็คงต้องเป็นไปตามนโยบายที่ได้ตั้งไว้ เราก็คงไม่มีสิทธิ์ที่จะไปคัดค้าน

    1. แน่นอนครับ แต่สิ่งที่เราชาว HR จะต้องมีการเตรียมตัวไงครับ ไม่เช่นนั้นผมว่าถึงเวลาปรับจริง ปัญหามันจะตามมาในแง่ของการบริหารค่าจ้างเงินเดือนภายในบริษัทเองครับ ผมเขียนบทความนี้ก็เพื่อที่จะให้เตรียมตัวกันล่วงหน้าครับ ไม่ได้เขียนขึ้นมาสนับสนุน หรือคัดค้านแต่อย่างใดครับ

  9. หากนโยบายนี้ประกาศใช้เมื่อไหร่ สิ่งที่อาจารย์กำลังจะบอกก็คือ
    เราทำอะไรไม่ได้ นอกจากหาวิธีรองรับกับปัญหาที่กำลังจะตามมา เพื่อให้มีผลกระทบ ทั่งตัวนายจ้างที่ต้องเพิ่มต้นทุนการผลิต และลูกจ้างที่ต้องรอรับผลขอราคาสินค้าที่เพิ่มตาม รวมถึงคนกลางอย่างฝ่าย HR ที่มีหน้าที่โดยตรง อาจจะต้องปรับนโยบายในการทำงานตามนโยบายของรัฐบาลไปด้วย ไหนจะวิธีการสรรหา การบริหารค่าจ้างเงินเดือน การปรับสวัสดิการใหม่ ปัจจุบันแรงงานก็หายากอยู่แล้ว ยังไม่รู้เลยว่าออกมาเป็นแบบนี้จะยิ่งต้องรับมือหนักกว่าเดิมหรือเปล่า
    แต่สุดท้ายอย่างงัย ก็อยากให้ WIN WIN ทุกฝ่าย

    อยากถามอาจารย์นะค่ะว่า ถ้าปรับจริงๆ ปัญหาแรงงานที่หายากในปัจจุบัน จะหนักขึ้นกว่าเดิมไหมค่ะ แล้วทิศทางตลาดแรงงานในไทยจะเป็นอย่างไรค่ะ

  10. ทีปกร,

    ในฐานะHR เช่นกัน มองเห็นว่าจะกระทบโดยตรงกับโครงเงินเดือน แต่หากทุกฝ่ายมีความจริงใจที่จะช่วยกัน คิดว่าสามารถจัดการเรื่องนี้ได้เช่นกัน

  11. ใช่ครับ ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นแต่

    1.ต้นทุนค่าแรงงานเป็น ต้นทุนส่วนน้อยมากที่เกี่ยวข้องกับการตั้งราคาสินค้านะครับ
    2.รัฐบาลมีนโยบายลดต้นทุนให้หลาย นโยบาย เช่น ลดภาษีนิติบุคคล การหยุดชั่คราวของกองทุนน้ำมัน ทำให้ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายได้มากกว่า เนื่องจาก ค่าน้ำมันและภาษี เป็นตัวที่มีผลต่อการตั้งราคาสูงกว่าค่าแรงของแรงงานอีก
    3.ราคาของที่สูงขึ้นเหมือนไม่ได้ปรับราคาค่าแรง (อันนี้ไม่จริงครับ)
    ค่าแรงเฉลี่ยสูงขึ้น 60-85% แต่การออกข่าวบอกค่าอาหารพุ่งขึ้นไป 60-80 ขึ้นไป 100%+ มันเวอร์ไป
    ปล.ด้านราคาสินค้าแพงขึ้น ถ้าวิเคราห์เป็นจริงๆ จะรู้เลยว่า ขึ้นได้ไม่ถึง 5 บาทหรอก เพราะ สินค้าอุปโภคจะขึ้นได้อย่างไร ในเมื่อรัฐบาลมีนโยบาลในการลดภาษีและน้ำมัน ดังนั้นต้นทุนจะถูกลงด้วยซ้ำ ถ้าใครขึ้นก็จะโดนรัฐบาลจับตามอง ซึ่งอาจจะทำให้ คนที่ขี้โกงหาโอกาสขึ้นราคาโดนคดีได้ง่ายๆ
    4.เมื่อมีเงินมากขึ้น การใช้จ่ายก็จะจ่ายกันมากขึ้น ดังนั้น เงินก็จะสะพัดในระบบ ทำให้เกิดการแข่งขันกันสูง ดังนั้น ราคาใครตั้งสูงขึ้นก็จะแพ้คนที่ตั้งราคาเท่าเดิม (ในสินค้าที่เป็น mass product ไม่รวม customise หรือ Unique)
    5.บริษัทใหญ่ๆที่ทำการผลิตสินค้าอุปโภค สินค้าครัวเรือนที่ใช้ในปัจจุบัน เช่น cp unilever ปกติ ค่าแรงขั้นต่ำบริษัทมากกว่า 300 กันอยู่แล้ว ดังนั้น ต้นทุนเค้ามีแต่จะถูกลงเนื่องจาก ภาษีนิติลดลง + ค่าใช้จ่าย รวมถึงประชาชนมีกำลังซื้อมากขึ้น
    6.ส่วนเรื่องตกงาน ทำให้แรงงานบางกลุ่มตกงาน >> สิ่งนี้แหละครับ ที่จะทำให้แรงงานมีการพัฒนาฝีมือ เนื่องจาก การแข่งขันกันสูงในการสมัครงาน ดังนั้นต่อไปบริษัทก็จะพิจารณาเลือกคนที่เหมาะสมกับเงินเดือนที่สูงขึ้น ดังนั้น หากแรงงานคนไหนไม่คิดจะปรับตัวใหเ้มีทักษะที่ดีขึ้น ก็จะลำบาก
    7.จากข้อข้างบน ดีแล้วครับที่ขึ้นตอนนี้ แรงงานเราจะได้มีเวลาพัฒนาทักษะแข่งกับประชาคมอาเซียน
    8.ปัจจุบันค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเราถูกมาก เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในอาเซียน ทั้งที่เป็นประเทศที่เศรษฐกิจดีกว่า ประเทศอื่นๆ
    9.ปัจจุบันความห่างกันของคนรวยคนจนในไทยสูงมากติดระดับท๊อปของโลก ดังนั้น การขึ้นค่าแรงอาจจะไม่ได้ช่วยมาก แต่ก็ดีกว่าไม่ลดความเลื่อมล้ำนี้ครับ

  12. 1. การเพิ่มต้นทุนค่าแรงอาจเป็นค่าใช้จ่ายที่น้อยในกิจการประเภทขายสินค้า แต่อาจเป็นต้นทุนกว่า 40%ในกิจการประเภทบริการที่ต้องใช้แรงงานหรือใช้พนักงานเป็นหลัก ประเภทของกิจการมีหลายประเภท ต้นทุนค่าแรงเป็นอัตราส่วนที่ไม่เท่ากันในทุกกิจการ
    2. sme ขนาดเล็กที่กำไรไม่มาก และเสียภาษีแบบขั้นบันไดไม่ถึง 30% อยู่แล้ว เท่ากับไม่ได้รับการช่วยเหลืออะไรเลย จะนำส่วนลดภาษีที่ไหนไปขึ้นค่าจ้าง ยิ่งถ้าอยู่ต่างจังหวัด ค่าจ้างขั้นต่ำร้อยกว่าบาท ขึ้นเป็น 300 จะกลายเป็นขึ้น 80-40% ทันที ระดับการพัฒนาและเงื่อนไขสภาพเศรษฐกิจของแต่ละจังหวัดเดิมก็ไม่เหมือนกันอยู่แล้ว
    3. รายไหนที่กู้สถาบันการเงินอยู่ดอกเบี้ยซึ่งเป็นต้นทุนอีกรายการหนึ่งมีแนวโน้มขึ้นแน่นอน sme จะรอดหรือไม่
    4. ปลดพนักงานบางส่วนออกอาจจำเป็น ทั้งที่แต่เดิมนายจ้างไม่เคยคิดจะปลด

    1. 1. ใช่ครับ แต่ก็ต้องเป็นวัฏจักรของมัน แต่ก่อน ธุรกิจบริการจ้างกันราคาถูก ดังนั้น ตอนนี้ แพงขึ้นมานิดหน่อย มันก็จำเป็นต่อการดำรงชีพของเค้า

      2. ข้อ 2 ต้องรอดูครับ ว่าเค้ามีการคิดฐานภาษีอย่างไร

      3. รัฐบาลก็มีแนวโน้มที่จะลดดอกเบี้ย เพื่อกดเงินเฟ้อเช่นกันครับ

      4. ก็ดีครับ จะได้เกิดการแข่งขันซะที ไม่งั้น ถ้ายังสบายๆ แบบนีี้ 2558 พวกนี้ตายไม่เหลือแน่ครับ

      ปล. ค่าแรงขั้นต่ำของไทย มันถูกเกินครับ ถ้าคิดเป็นค่าแรงขั้นต่ำในการดำรงชีพ (เป็นวิธีคิดค่าแรงขั้นต่ำของต่างประเทศ ที่คำนึงถึงสิทธิมนุษย์ชน) ปัจจุบันของไทยอยู่ที่ 441 บาท นะครับ ดังนั้น ตอนนี้ แรงงานไทยขาดดุลเสียเปรียบอยู่นะครับ

  13. เป็นปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เมื่อก่อน(และตอนนี้)ค่าครองชีพมีอัตราเพิ่มขึ้นสูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำค่อนข้างมาก(เกือบเท่าตัว)ส่งผลกระทบต่อหลายๆฝ่าย เมื่อไหร่ที่ค่าแรงขั้นต่ำขยายตัวได้ทันกับค่าครองชีพจะส่งผลกระทบทั้งทางบวกหรือลบต่อฝ่ายใดบ้าง มากน้อยเพียงใด (อยากให้ลองคิดดูจุดนี้ด้วยครับ) แต่ในระยะยาวทุกอย่างก็จะปรับตัวเข้าหากันได้ครับ จากที่ผ่านมาค่าครองชีพกับค่าแรงขั้นต่ำมีความเหลื่อมฝ้ำกันค่อนย้างมาก หากสามารถทำให้มันขยายตัวไปอย่างสมดุลกันได้ ผมว่าสภาพโดยรวมจะออกมาดีครับ

  14. ดิฉันคิดว่ามันส่งผลทั้งทางลบและบวกควบกันคะ ดิฉัน เองก้ไม่มีความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์ แต่ ก็อยากเป็นส่วนหนึ่งของ ความคิดเห็นนี้ จากที่ดิฉันอ่านบทความของหลายๆ ท่านแล้ว น่าสนทีเดียว เรื่องการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ มันเป็นหาขั้นใหญ่หลวงมากหรอคะ นักลงทุนมีมากกว่าประชาชนหรือคะ หลายๆ ท่านก็รู้ดีว่า สถานะตอนนี้ มีประชาชนระดับไหนมากกว่ากัน อันนี้ดิฉ่ันไม่ได้บอกนะคะว่า เงินขั่นต่ำต่ำเนี่ยดีเสมอต้นเสมอปลาย มันอาจจะดีในระดับหนึ่งล่ะค่ะ อีกตั้งห้า ปี ควรมีบุคลากรผู้ให้ความรู้ กับประชนสิคะ ว่าควรจะรับมือ อย่างไรดี

    1. เห็นด้วยเลยครับ แต่อย่างว่านะครับ เรื่องนี้มันมาแบบเร็ว และแรงมาก จนทำให้ผู้ประกอบการตื่นกลัวกันเป็นแถวๆ ครับ ก็เลยต้องมีการให้ความรู้และเตรียมวิธีการรับมือ อย่างที่คุณภูรินศานต์ ว่ามาครับ

  15. หนูอายุ 25 ปีค่ะ ที่บ้านประกอบธุรกิจส่วนตัวอยู่ต่างจังหวัด เป็น SME ค่ะ มีลูกจ้างประมาณ 30 คน อยากทราบว่าค่าแรงขั้นต่ำ คิดเฉพาะเงินเดือน หรือสามารถรวมเบี้ยเลี้ยงต่อวันได้คะ เช่น ปัจจุบันนี้ มีเซลล์ ได้เงินเดือน เดือนละ 6,000 บาท และเบี้ยเลี้ยง วันละ 150 บาท (ได้ 24 วัน) นี่สามารถนำมารวมกันแล้วคิดเป็นค่าแรงขั้นต่ำได้ไหมคะ

    1. ค่าแรงขั้นต่ำนั้นจะไม่สามารถนำเอาเบี้ยเลี้ยงต่างๆ เข้ามารวมได้ครับ เพราะเขาถือว่า ขั้นต่ำที่ต้องจ่ายคือเท่านี้้ ส่วนเบี้ยเลี้ยงต่างๆ ที่บริษัทจ่ายนั้น ถือเป็นส่วนเพิ่มเติมครับผม

    2. ค่าจ้างขั้นต่ำไม่สามารถนำเอาเบี้ยเลี้ยงต่างๆ เข้ามารวมกัน แล้วบอกว่านี่คือขั้นต่ำได้ครับ จะต้องจ่ายแยกต่างหากครับผม เพราะถ้าเขาทราบ เราจะมีความผิดครับผม

  16. ค่าแรง และค่าจ้าง ต่างกันมั้ย และต่างกันอย่างไร เพราะเคยได้ยินเจ้าหน้าที่่่ของรัฐเขาบอกว่าต่างกัน แต่ไม่เข้าใจความหมายของแต่ละคำอย่างชัดเจน

    1. คำว่าค่าแรงกับค่าจ้าง ในนัยของการบริหารค่าจ้างมีความหมายที่แตกต่างกันนะครับ ค่าแรงก็คือ คิดเฉพาะเงินที่เราให้เพื่อตอบแทนแรงงานพนักงานที่มาทำงานให้เราครับ
      ส่วนคำว่าค้าจ้างนั้น ก็รวมทุกอย่างที่เราให้พนักงานเพื่อตอบแทนการทำงานครับ เช่น ค่าแรงรายวัน + โบนัส + OT + ฯลฯ รวมแล้วเรียกว่าค่าจ้างครับผม

  17. อยากทราบว่าผู้ประกอบการจะเตรียมรับมือยังไงกับค่าจ้างที่เพิ่มเป็น300/วันและป. ตรี15000/เดือนคะ ??

ใส่ความเห็น

บลอกที่ WordPress.com .

Up ↑